การจัดอันดับคะแนนสะสม (Point Ranking)

หลักการและเหตุผล

ไอเอสเอฟ มีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมแข่งขันยังต่างประเทศ ตามแต่โอกาสอำนวย เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ในการเล่นและนำประสบการณ์ดังกล่าวมาปรับปรุงและพัฒนาฝีมือตนเอง เพื่อก้าวขึ้นไปในระดับสูงกว่า อาจถึงขั้นเป็นตัวแทนระดับชาติ หรือเป็นนักกอล์ฟอาชีพต่อไปในอนาคต

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว จำเป็นต้องกำหนดวิธีการคัดเลือกบุคคล เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม อีกทั้งต้องสอดคล้องระดับฝีมือการเล่นด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสากลปฏิบัติแล้ว เห็นว่า การให้คะแนนในแต่ละอับดับที่นักกอล์ฟทำได้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง เพื่อทำการสะสมและจัดอันดับ โดยนักกอล์ฟที่ทำคะแนนสะสมสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาที่กำหนดจะได้รับสิทธิเดินทางไปร่วมแข่งขันยังต่างประเทศโดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด จึงเป็นที่มาของการจัดอันดับคะแนนสะสม (Point Rank) นี้

การแบ่งกลุ่มนักกอล์ฟตามเพศ

แน่นอน สรีระของผู้ชายและผู้หญิงแข็งแรงไม่เท่ากัน ระยะที่เล่นต่างกัน ก่อนที่จะไปถึงเรื่องการสะสมคะแนน ในลำดับแรกของการคัดเลือกตัวบุคคล จะต้องแบ่งกลุ่มนักกอล์ฟตามเพศก่อน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น

การแบ่งกลุ่มนักกอล์ฟตามรุ่นอายุ

นักกอล์ฟเพศเดียวกัน ถ้าอายุต่างกันก็มีพละกำลังไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น การแบ่งนักกอล์ฟตามรุ่นอายุเป็นสิ่งจำเป็นในลำดับถัดไป ในการแบ่งกลุ่มอายุนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป (ขึ้นฤดูการแข่งขันใหม่) ไอเอสเอฟ จะใช้ วันเดือนปีเกิด เป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่มอายุ (จากเดิมที่ใช้เฉพาะปีเกิดเท่านั้น) ดังนี้

คลาส เอ อายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป

คลาส บี อายุระหว่าง 13 – 14 ปี

คลาส ซี อายุระหว่าง 11 – 12 ปี

คลาส ดี อายุระหว่าง 9 – 10 ปี

คลาส อี อายุระหว่าง 7 – 8 ปี

หากต้องการทราบว่า ตนเองต้องเล่นคลาสใด ให้ดูว่า เมื่อครบรอบวันเกิดของตนเอง อายุของตนเข้าเกณฑ์ขั้นต่ำของรุ่นถัดขึ้นไปหรือไม่ หากใช่ ก็ให้ขึ้นไปเล่นในคลาสถัดไปเลย ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ หักลบกับวันเกิดของตนเอง คำนวณได้เท่ากับ 12 ปี 11 เดือน 29 วัน ก็ยังไม่ถึงขั้นต่ำคลาส B เพราะฉะนั้น วันนี้ก็ยังคงเล่นคลาส C อยู่ แต่พอวันรุ่งขึ้น ก็ต้องขยับขึ้นไปเล่นในคลาส B เป็นต้น

การแบ่งนักกลุ่มนักกอล์ฟตามระดับฝีมือ

นอกจากการแบ่งกลุ่มนักกอล์ฟตามเพศและอายุแล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้ว่าจะเป็นเพศเดียวกัน เล่นในกลุ่มอายุเดียวกัน ก็มีระดับฝีมือต่างกัน และการคัดสรรนักกอล์ฟไปแข่งขันยังต่างประเทศนั้น นอกจากคัดตามเพศและรุ่นอายุแล้ว จะต้องพิจารณาถึงระดับฝีมือด้วย แต่เนื่องจากในการแข่งขันแต่ละครั้ง จะมีนักกอล์ฟระดับฝีมือต่างกันเข้าร่วมแข่งขัน ทั้งมือดีและมือใหม่ นักกอล์ฟมือดี มีสิทธิได้รับรางวัลบ่อยและได้รับคะแนนสูง ในขณะที่นักกอล์ฟมือใหม่ ที่อยู่ในรุ่นอายุเดียวกัน แทบไม่มีโอกาสได้รับรางวัลเลย ซึ่งจะขาดกำลังใจและอาจเลิกเล่นไปในที่สุด จึงมีมติให้แบ่งนักกอล์ฟเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มพรีเมียร์ชิพ (Premiership) – นักกอล์ฟในกลุ่มนี้ เป็นนักกอล์ฟฝีมือดี ได้รับถ้วยรางวัลจากการแข่งขันหลายครั้ง หรือเป็นสมาชิกใหม่ที่มีฝีมือดีและแจ้งความจำนงขอเล่นในกลุ่มนี้ตั้งแต่แรกเข้า จะเป็นกลุ่มเดียวที่จะได้รับสิทธิเดินทางไปร่วมแข่งขันยังต่างประเทศตามที่แจ้งข้างต้น

2. กลุ่มแชมเปี้ยนชิพ (Championship) ) – นักกอล์ฟในกลุ่มนี้ เป็นนักกอล์ฟใหม่ หรือเล่นมานานแต่อ่อนซ้อม ไม่เคยได้รับรางวัลหรือได้รับรางวัลเพียงครั้งเดียว จึงจัดแยกเป็นกลุ่มต่างหากและจัดรางวัลให้เป็นการเฉพาะ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาฝีมือขึ้นไปอยู่ในกลุ่มพรีเมียร์ชิพ ต่อไป นักกอล์ฟในกลุ่มนี้ จะไม่ได้รับสิทธิเดินทางไปร่วมแข่งขันยังต่างประเทศ ... ยกเลิกแล้ว

กล่าวโดยสรุป นักกอล์ฟจะถูกแบ่งตามเพศ (2 เพศ) ตามรุ่นอายุ (6 รุ่นอายุ) และตามระดับฝีมือ (2 ระดับ) เพราะฉะนั้น ในการแข่งขันแต่ละครั้ง จะมีถ้วยรางวัลจำนวนมาก ที่จะแจกให้เพื่อเป็นกำลังใจในการพัฒนาฝีมือต่อไป

ฤดูการแข่งขัน เพื่อเก็บคะแนนสะสม

เมื่อแบ่งกลุ่มนักกอล์ฟเรียบร้อยแล้ว ในการสะสมคะแนน จะต้องกำหนดจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของการสะสม ถือเป็น 1 ฤดูการแข่งขัน ในการนี้ ไอเอสเอฟ กำหนดให้ ฤดูการแข่งขันของปีหนึ่งปีใด ให้เริ่มจากเดือนตุลาคม ไปสิ้นสุดในเดือนกันยายนของปีถัดไป

บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมต้องเริ่มเดือนตุลาคม และไปสิ้นสุดในเดือนกันยายนของปีถัดไป ทำไมไม่เริ่มเดือนมกราคม และจบเดือนธันวาคม เหมือนปีปฏิทินปกติ เหตุผลคือ เป้าหมายในการเดินทางไปแข่งขันยังต่างประเทศ อยู่ที่รายการ The Sarawak Chief Minister Cup ที่รัฐซาราวัค ประเทศมาเลย์เซีย ซึ่งจะทำการแข่งขันในเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี เราต้องมีเวลาเตรียมการ เรื่องพาสปอร์ต การจองตั๋วเครื่องบิน การสมัครแข่งขันและการเตรียมการต่างๆ อย่างน้อย 1 เดือน คือ เดือนตุลาคม เพราะฉะนั้น ถ้าเราจบฤดูการแข่งขัน ในเดือนกันยายน เตรียมตัวในเดือนตุลาคม และเดินทางในเดือนพฤศจิกายน จะเหมาะสมกว่า นอกจากนี้ ในเดือนธันวาคมมีวันหยุดมากและสิ้นปีพอดี มีกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องทำ และรายการแข่งขันในต่างประเทศจะไม่ค่อยมี จึงเป็นที่มาของฤดูการแข่งขันที่กำหนดนี้

ตารางคะแนนสะสม พรีเมียร์ชิพ - Premiership Point Ranking

เมื่อจัดกลุ่มผู้เล่น และกำหนดปฏิทินแข่งขันแล้ว คราวนี้ ใครจะได้คะแนนเท่าใดและได้อย่างไร ก็เป็นคำถามถัดมา

ไอเอสเอฟ จัดทำตารางคะแนนพรีเมียร์ชิพ (Premiership Point Ranking Table) ขึ้น โดยกำหนดคะแนนให้แก่อันดับต่างๆ ที่นักกอล์ฟทำได้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ดังนี้

อันดับคะแนน
1100
290
380
470
560
650
740
830
920
1010
11 เป็นต้นไป5

ตารางคะแนนสะสม แชมเปี้ยนชิพ - Championship Point Ranking

... ยกเลิกแล้ว สำหรับคะแนนสำหรับ แชมเปี้ยนชิพ นั้น กำหนดให้เป็นครึ่งหนึ่งของ พรีเมียร์ชิพ ดังนี้

อันดับคะแนน
150
240
330
420
510
6 เป็นต้นไป5

หมายเหตุ : เฉพาะผู้เล่นในกลุ่ม แชมเปี้ยนชิพ หากผู้เล่นในลำดับใด ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันครั้งนั้นๆ จะได้รับคะแนนเพิ่มอีก 1 คะแนน เพื่อเป็นตัวชี้ว่า เคยได้รับรางวัลชนะเลิศแล้ว 1 ครั้ง นักกอล์ฟคนใดที่ได้รับคะแนนเพิ่มขึ้น 2 คะแนน แสดงว่า ได้รับรางวัลชนะเลิศ 2 ครั้ง จะต้องเลื่อนขึ้นไปอยู่ในกลุ่ม พรีเมียร์ชิพ ในการแข่งขันครั้งต่อไปโดยอัตโนมัติ (รายละเอียดเพิ่มเติมของเงื่อนไขนี้ อยู่ในหัวข้อถัดไป)

เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันแต่ละครั้ง ในฤดูการแข่งขัน คณะกรรมการจะจัดอันดับตามแต้มที่ทำได้ และแจกรางวัลให้ จากนั้น ผู้เข้าแข่งขันทุกคน (แบ่งตามเพศ กลุ่มอายุ และระดับฝีมือ) ที่ได้รับรางวัลในแต่ละอันดับ จะได้รับคะแนนตามตารางดังกล่าว เพื่อนำไปสะสม

ในการแข่งขันรายการถัดไป ผู้ที่เข้าร่วมแข่งขันทุกคน จะได้คะแนนในลักษณะเดียวกัน เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันรายการนั้นแล้ว คณะกรรมการฯ จะนำคะแนนที่ได้ในวันนั้น มาบวกกับคะแนนที่ได้หรือสะสมมาจากครั้งก่อนๆ และทำการจัดเรียงอันดับคะแนนสะสมใหม่ ก็จะเป็นอันดับคะแนนสะสม (Point Ranking) ของทั้งกลุ่มพรีเมียร์ชิพและแชมเปี้ยนชิพ ที่เป็นปัจจุบันที่สุด

ตารางคะแนนนี้ จะใช้กับผลการแข่งขันของทุกคลาสในทุกสนามแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่สนามใหญ่ พาร์ 72 หรือสนาม พาร์ 3 ก็ตาม เว้นแต่จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนการแข่งขัน หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ

การเลื่อนชั้นของ แชมเปี้ยนชิพ ขึ้นไปเป็น พรีเมียร์ชิพ

... ยกเลิกแล้ว ดังที่เกริ่นให้ทราบว่า นักกอล์ฟในกลุ่ม แชมเปี้ยนชิพ เป็นนักกอล์ฟมือใหม่ หรืออ่อนซ้อม การจัดถ้วยรางวัลให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พัฒนาฝีมือตนเอง เมื่อเอาชนะเพื่อนๆ ในกลุ่มได้แล้ว ก็สมควรเลื่อนขึ้นไปเล่นกับมือที่แข็งกว่าในกลุ่ม พรีเมียร์ชิพ และเปิดโอกาสให้เพื่อนคนอื่นมีสิทธิรับถ้วยรางวัลบ้าง

เดิม ไอเอสเอฟ กำหนดหลักเกณฑ์ ว่า นักกอล์ฟในกลุ่ม แชมเปี้ยนชิพ คนใด ที่ได้รับถ้วยรางวัล 2 ใบ (เฉพาะผู้ที่ได้รับรางวัลในอันดับที่ 1 2 และ 3 ของการแข่งขันแต่ละครั้ง) ต้องเลื่อนขึ้นไปเล่นในกลุ่ม พรีเมียร์ชิพ ในการแข่งขันครั้งถัดไปเป็นต้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป (ขึ้นฤดูการแข่งขันใหม่) เฉพาะ ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเท่านั้น จึงจะได้คะแนนเพิ่ม 1 คะแนน เพื่อไว้พิจารณาเลื่อนชั้นไปเล่นในกลุ่ม พรีเมียร์ชิพ หากได้คะแนนเป็น 2 คะแนน จะต้องเลื่อนขึ้นไปเล่นในกลุ่ม พรีเมียร์ชิพ ในการแข่งขันครั้งถัดไปเป็นต้นไป และไม่มีสิทธิกลับมาเล่นในกลุ่ม แชมเปี้ยนชิพ อีก จนกว่าจะปรับขึ้นคลาสใหม่ เนื่องจากอายุถึงเกณฑ์

หมายเหตุ : นักกอล์ฟในกลุ่ม แชมเปี้ยนชิพ ที่สมัครใจขึ้นไปเล่นในกลุ่ม พรีเมียร์ชิพ ไม่มีสิทธิกลับมาเล่นในกลุ่ม แชมเปี้ยนชิพ อีก จนกว่าจะปรับขึ้นคลาสใหม่ เนื่องจากอายุถึงเกณฑ์ แม้ว่าจะไม่เคยได้รับถ้วยรางวัล หรือ ได้รับถ้วยรางวัลไม่ถึง 2 ครั้งก็ตาม

การตกชั้นของพรีเมียร์ชิพ

คงจะสงสัยบ้างว่า เมื่อมีการเลื่อนชั้นจากแชมเปี้ยนชิพ ขึ้นไปเป็นพรีเมียร์ชิพแล้ว จะมีการตกชั้นจาก พรีเมียร์ชิพ ลงมาเล่นใน แชมเปี้ยนชิพ บ้างหรือไม่

นักกอล์ฟในกลุ่ม พรีเมียร์ชิพ ที่ไม่เคยได้รับถ้วยรางวัลเลย มีสิทธิร้องขอลงมาเล่นในกลุ่ม แชมเปี้ยนชิพ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ สงวนสิทธิที่จะพิจารณาเป็นกรณีไป เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้เล่นในกลุ่ม แชมเปี้ยนชิพ ได้ ตั้งแต่การแข่งขันครั้งถัดไปเป็นต้นไป จนกว่าจะเข้าเกณฑ์การเลื่อนชั้นข้างต้น จึงจะกลับมาเล่นในกลุ่ม พรีเมียร์ชิพ ได้

อายุเพิ่มขึ้นและต้องขึ้นไปเล่นในกลุ่มอายุถัดไป ระหว่างฤดูการแข่งขัน

ทุกๆ วัน เราจะมีอายุเพิ่มขึ้น จนถึงวันคล้ายวันเกิดรอบใหม่ เราจะมีอายุเพิ่มขึ้น 1 ปี บางคนจำเป็นต้องเลื่อนขึ้นไปเล่นในกลุ่มอายุที่สูงขึ้น แต่คะแนนที่ตนเองสะสมมาจากรุ่นอายุเดิม จะทำอย่างไร ... ไม่ยากเลย ... ก็นำคะแนนที่สะสมมาทั้งหมด ยกขึ้นไปสะสมต่อในคลาสใหม่ ทั้งนี้ ให้ขึ้นไปเล่นในกลุ่ม แชมเปี้ยนชิพ ของคลาสใหม่ก่อน จนกว่าจะเข้าเกณฑ์ที่จะขึ้น พรีเมียร์ชิพ ตามที่ระบุ หรือ จะร้องขอขึ้นไปเล่นในกลุ่ม พรีเมียร์ชิพ ของคลาสใหม่เลยก็ได้ เมื่อได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการแล้ว .. (คะแนนสะสม จะยกขึ้นไป ต่อเมื่อเจ้าของคะแนน ขึ้นไปเล่นในคลาสถัดไปเท่านั้น หากยังไม่ขึ้นไปเล่น คะแนนสะสมจะยังคงอยู่ในคลาสนั้น)

หมายเหตุ 1 : ฤดูการแข่งขันปี 2519-2520 (ตค. 2019 - กย. 2020) การขึ้นคลาสระหว่างฤดูการแข่งขันโดยอายุไม่ถึงเกณฑ์ เพื่อขอใช้สิทธิไปแข่งต่างประเทศ หรือขอรับถ้วย Best Golfer จะอนุญาตเฉพาะผู้ที่ขึ้นคลาสมากกว่า 1 รายการ ก่อนสิ้นฤดูการแข่งขันเท่านั้น

หมายเหตุ 2 : เพื่อป้องกันการใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นทั้งที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ ตั้งแต่ฤดูการแข่งขัน ปี 2520-2521 (ตค. 2520 เป็นต้นไป) จะอนุญาตให้ขึ้นคลาสเฉพาะเมื่ออายุถึงเกณฑ์ เท่านั้น

สิทธิในการไปแข่งขันยังต่างประเทศ

นักกอล์ฟที่ทำคะแนนสะสมสูงสุดใน คลาส เอ บี ซี และ ดี (ยกเว้น คลาส อี และ คลาส เอฟ) เมื่อสิ้นสุดฤดูการแข่งขัน จะได้รับสิทธิไปร่วมแข่งขัน รายการ The Sarawak Chief Minister Cup หรือรายการที่ใกล้เคียง โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย สิทธินี้ เป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่สามารถโอนต่อให้ผู้อื่นได้ และเปลี่ยนเป็นเงินสดไม่ได้ สำหรับการแข่งขันต่างประเทศรายการอื่น จะต้องพิจารณาจากเงื่อนไขของการแข่งขันรายการนั้นๆ ว่าแบ่งคลาสผู้เล่นอย่างไร จึงจะสรุปได้ว่าจะให้การสนับสนุนคลาสใดบ้าง ซึ่งจะแจ้งให้ทราบต่อไป

สำหรับนักกอล์ฟในลำดับถัดไป หากสนใจจะร่วมเดินทางไปแข่งขัน ให้แจ้งความจำนงล่วงหน้า โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ สงวนสิทธิ ที่จะพิจารณา อนุญาตหรือไม่อนุญาต เป็นกรณีไป โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเหตุผลให้ทราบ

รายการแข่งขันต่างประเทศ ปี 2560

สำหรับฤดูการแข่งขันใหม่ ปี 2560 นี้ ไอเอสเอฟ จะจัดส่งนักกอล์ฟไปร่วมแข่งขัน 2 รายการ คือ

1. The Singapore Junior Golf Championship 2017ยกเลิกแล้ว ซึ่งจัดขึ้นในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน และ

2. The Sarawak Chief Minister Cup 2017 ซึ่งจัดขึ้นในสัปดาห์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน

นอกจากนี้ ไอเอสเอฟ อยู่ระหว่างการประสานงานหาผู้ให้การสนับสนุนเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะมีรายการแข่งขันยังต่างประเทศเพิ่มอีก ซึ่งจะประกาศให้ทราบต่อไป

การแบ่งคะแนนสะสมเป็น 2 ช่วง สำหรับปี 2560

ช่วงที่ 1 จะเริ่มสะสมคะแนน ตั้งแต่เดือนตุลาคมไปสิ้นสุดในเดือนมีนาคมของปีถัดไป รวม 6 เดือนแรก ผู้ที่ทำคะแนนสูงสุด 9 รายการใน 12 รายการ จะได้รับสิทธิไปร่วมแข่งขัน The Singapore Junior Golf Championship 2017 ในเดือนมิถุนายน

ช่วงที่ 2 จะเริ่มสะสมคะแนนใหม่ ตั้งแต่เมษายนไปสิ้นสุดในเดือนกันยายน รวม 6 เดือนหลัง ผู้ที่ทำคะแนนสูงสุด 9 รายการใน 12 รายการ จะได้รับสิทธิไปร่วมแข่งขัน The Sarawak Chief Minister Cup 2017 ในเดือนพฤศจิกายน

กรณี คะแนนสะสมเท่ากัน ให้ทำการแข่งขัน แบบ sudden death ผู้ชนะเป็นผู้ได้รับสิทธิดังกล่าว


สำหรับท่านที่อ่านจากหน้า web ไม่สะดวก และต้องการพิมพ์ลงบนกระดาษ ให้ เอกสารในรูปแบบ words 2003 ไปศึกษาได้เลยค่ะ ...

International Sports Federation (ISF)
557/67 Soi Happyland Trading Center 1, Klongchan, Bangkapi, Bangkok 10240
Mobile : 065 396 2969     Email : isfgolf@gmail.com